#ChulalongkornGlobalInnovationclub #TNIUWorkshop: “Urban Green Infrastructure” – ออกแบบพื้นที่สีเขียวสู่เมืองยั่งยืน . จะเกิดอะไรขึ้น…เมื่อคณะผู้เชี่ยวชาญจาก #สวีเดน และ #ไทย ได้มาเจอกัน เพื่อสร้างเมืองยั่งยืน? . สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย ได้เชิญคณะผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูป่าไม้และสถาปนิกออกแบบเมืองจากไม้ (Wood cities) ชาวสวีเดน มาลงพื้นที่แลนด์มาร์กสีเขียวใจกลางกรุงเทพฯ “อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ” นำทีมโดยคุณสัจจพงศ์ เล็กอุทัย Design Director บริษัท LANDPROCESS ที่จะมาแลกเปลี่ยนแรงบันดาลใจในการออกเปลี่ยนพื้นที่รกร้างสู่การออกแบบพื้นที่สีเขียวในเมืองใหญ่ พร้อมกับการช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมไปพร้อมๆ กัน สถานที่: อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ​ (CU Centenary Park) วันที่: 16 มีนาคม 2023 … หากใครเคยไปอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ คงสัมผัสได้ว่า… สวนแห่งนี้มีดีกว่าแค่สวนสาธารณะ . “เพราะธรรมชาติให้ได้มากกว่าที่คิด” . ด้วยการออกแบบที่เข้าใจ เคารพธรรชาติและชุมชม ใช้หลัก “Nature Based Solutions (NBS)” ช่วยลดปัญหาและเยียวยาบาดแผลของเมืองใหญ่ เช่น น้ำท่วม / มลพิษ ที่หลายพื้นที่ยังต้องเผชิญอยู่ทุกปี … . #ทำไมต้องพื้นที่ลาดเอียง? อุทยานแห่งนี้มีการบริหารจัดการน้ำแบบหมุนเวียนแบบสมบูรณ์ เริ่มด้วยที่พื้นที่ลาดเอียงจากสูงไปต่ำ ช่วยควบคุมการทิศทางการไหลเวียนของน้ำ เปลี่ยนจากปัญหาน้ำท่วมสู่การใช้ประโชยน์ ด้วยการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อมาใช้รดต้นไม้ หรือให้รากไม้ใหญ่ดูดซับฝนได้อย่างชุ่มฉ่ำ นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืชที่ทนต่อมลพิษบำบัดน้ำเสียและเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ก่อนนำกลับไปใช้หมุนเวียนใหม่ . #ทำไมต้องปลูกพืชบนหลังคา? นอกจากนี้อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ยังมี ‘Green Roof’ หรือการปลูกปลูกต้นไม้ปกคลุมบนหลังคา เพราะเมืองหลวงมีพื้นที่จำกัด จึงยกระดับเพื่อประหยัดพื้นที่ใช้สอย นอกจากจะช่วยลดอุณหภูมิความร้อนจากคอนกรีต สร้างความร่มเย็นให้อาคาร ยังเป็นบ้านและแหล่งอาหารให้กับเหล่านกแมลง เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้กับเมือง (BiodiverCity) ให้มีมากกว่าแค่คน … . สิ่งที่ได้มาคือ “ห้องเรียนธรรมชาติ” โดยปริยาย ที่ทั้งเด็กหรือผู้ใหญ่ สามารถเข้าใกล้ชิดธรรมชาติwfhมากขึ้นโดยไม่ต้องเดินทางไกลถึงต่างจังหวัด คุณภาพชีวิตที่ดี=การมีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ คลายเครียดจากชีวิตเมืองใหญ่ และมีกิจกรรมร่วมกันในสังคม . อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุทยาน 100 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​ (CU Centenary Park) : //pmcu.co.th/?page_id=9921 . สภาพอากาศ ภูมิประเทศ และโจทย์ความท้าทายของประเทศสวีเดนและไทย มีความแตกต่างกัน แต่ความหลากหลายช่วยจุดประกาย#นวัตกรรม ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลก… เราต่างต้องเร่งปรับตัวสร้างรากฐานเมืองให้พร้อมและยั่งยืน เพื่อชะลอผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศให้ได้มากที่สุด . กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ #ThailandSwedenSustainabilityWeek23 #สัปดาห์ความยั่งยืนไทยสวีเดนระหว่างวันที่ 16-22 มี.ค.66 . ติดตามความความร่วมมือระหว่างไทย-สวีเดน และกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่: Facebook : TNIU Thailand and Nordic Countries Innovation Unit ——

#ChulalongkornGlobalInnovationclub #TNIU

331750033_214071217953159_69045589273883

Workshop: “Urban Green Infrastructure” – ออกแบบพื้นที่สีเขียวสู่เมืองยั่งยืน
.
จะเกิดอะไรขึ้น…เมื่อคณะผู้เชี่ยวชาญจาก #สวีเดน และ #ไทย ได้มาเจอกัน เพื่อสร้างเมืองยั่งยืน?
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย ได้เชิญคณะผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูป่าไม้และสถาปนิกออกแบบเมืองจากไม้ (Wood cities) ชาวสวีเดน มาลงพื้นที่แลนด์มาร์กสีเขียวใจกลางกรุงเทพฯ “อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ” นำทีมโดยคุณสัจจพงศ์ เล็กอุทัย Design Director บริษัท LANDPROCESS ที่จะมาแลกเปลี่ยนแรงบันดาลใจในการออกเปลี่ยนพื้นที่รกร้างสู่การออกแบบพื้นที่สีเขียวในเมืองใหญ่ พร้อมกับการช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมไปพร้อมๆ กัน
สถานที่: อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ​ (CU Centenary Park)
วันที่: 16 มีนาคม 2023

หากใครเคยไปอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ คงสัมผัสได้ว่า… สวนแห่งนี้มีดีกว่าแค่สวนสาธารณะ
.
“เพราะธรรมชาติให้ได้มากกว่าที่คิด”
.
ด้วยการออกแบบที่เข้าใจ เคารพธรรชาติและชุมชม ใช้หลัก “Nature Based Solutions (NBS)” ช่วยลดปัญหาและเยียวยาบาดแผลของเมืองใหญ่ เช่น น้ำท่วม / มลพิษ ที่หลายพื้นที่ยังต้องเผชิญอยู่ทุกปี …
.
#ทำไมต้องพื้นที่ลาดเอียง?
อุทยานแห่งนี้มีการบริหารจัดการน้ำแบบหมุนเวียนแบบสมบูรณ์ เริ่มด้วยที่พื้นที่ลาดเอียงจากสูงไปต่ำ ช่วยควบคุมการทิศทางการไหลเวียนของน้ำ เปลี่ยนจากปัญหาน้ำท่วมสู่การใช้ประโชยน์ ด้วยการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อมาใช้รดต้นไม้ หรือให้รากไม้ใหญ่ดูดซับฝนได้อย่างชุ่มฉ่ำ นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืชที่ทนต่อมลพิษบำบัดน้ำเสียและเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ก่อนนำกลับไปใช้หมุนเวียนใหม่
.
#ทำไมต้องปลูกพืชบนหลังคา?
นอกจากนี้อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ยังมี ‘Green Roof’ หรือการปลูกปลูกต้นไม้ปกคลุมบนหลังคา เพราะเมืองหลวงมีพื้นที่จำกัด จึงยกระดับเพื่อประหยัดพื้นที่ใช้สอย นอกจากจะช่วยลดอุณหภูมิความร้อนจากคอนกรีต สร้างความร่มเย็นให้อาคาร ยังเป็นบ้านและแหล่งอาหารให้กับเหล่านกแมลง เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้กับเมือง (BiodiverCity) ให้มีมากกว่าแค่คน …
.
สิ่งที่ได้มาคือ “ห้องเรียนธรรมชาติ” โดยปริยาย ที่ทั้งเด็กหรือผู้ใหญ่ สามารถเข้าใกล้ชิดธรรมชาติwfhมากขึ้นโดยไม่ต้องเดินทางไกลถึงต่างจังหวัด คุณภาพชีวิตที่ดี=การมีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ คลายเครียดจากชีวิตเมืองใหญ่ และมีกิจกรรมร่วมกันในสังคม
.
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุทยาน 100 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​ (CU Centenary Park) : //pmcu.co.th/?page_id=9921
.
สภาพอากาศ ภูมิประเทศ และโจทย์ความท้าทายของประเทศสวีเดนและไทย มีความแตกต่างกัน แต่ความหลากหลายช่วยจุดประกาย#นวัตกรรม ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลก… เราต่างต้องเร่งปรับตัวสร้างรากฐานเมืองให้พร้อมและยั่งยืน เพื่อชะลอผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศให้ได้มากที่สุด
.
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ #ThailandSwedenSustainabilityWeek23 #สัปดาห์ความยั่งยืนไทยสวีเดนระหว่างวันที่ 16-22 มี.ค.66
.
ติดตามความความร่วมมือระหว่างไทย-สวีเดน และกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่: Facebook : TNIU Thailand and Nordic Countries Innovation Unit
——

อ่านต่อ

#ChulalongkornGlobalInnovationclub #TNIUWorkshop: “Urban Green Infrastructure” – ออกแบบพื้นที่สีเขียวสู่เมืองยั่งยืน . จะเกิดอะไรขึ้น…เมื่อคณะผู้เชี่ยวชาญจาก #สวีเดน และ #ไทย ได้มาเจอกัน เพื่อสร้างเมืองยั่งยืน? . สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย ได้เชิญคณะผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูป่าไม้และสถาปนิกออกแบบเมืองจากไม้ (Wood cities) ชาวสวีเดน มาลงพื้นที่แลนด์มาร์กสีเขียวใจกลางกรุงเทพฯ “อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ” นำทีมโดยคุณสัจจพงศ์ เล็กอุทัย Design Director บริษัท LANDPROCESS ที่จะมาแลกเปลี่ยนแรงบันดาลใจในการออกเปลี่ยนพื้นที่รกร้างสู่การออกแบบพื้นที่สีเขียวในเมืองใหญ่ พร้อมกับการช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมไปพร้อมๆ กัน สถานที่: อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ​ (CU Centenary Park) วันที่: 16 มีนาคม 2023 … หากใครเคยไปอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ คงสัมผัสได้ว่า… สวนแห่งนี้มีดีกว่าแค่สวนสาธารณะ . “เพราะธรรมชาติให้ได้มากกว่าที่คิด” . ด้วยการออกแบบที่เข้าใจ เคารพธรรชาติและชุมชม ใช้หลัก “Nature Based Solutions (NBS)” ช่วยลดปัญหาและเยียวยาบาดแผลของเมืองใหญ่ เช่น น้ำท่วม / มลพิษ ที่หลายพื้นที่ยังต้องเผชิญอยู่ทุกปี … . #ทำไมต้องพื้นที่ลาดเอียง? อุทยานแห่งนี้มีการบริหารจัดการน้ำแบบหมุนเวียนแบบสมบูรณ์ เริ่มด้วยที่พื้นที่ลาดเอียงจากสูงไปต่ำ ช่วยควบคุมการทิศทางการไหลเวียนของน้ำ เปลี่ยนจากปัญหาน้ำท่วมสู่การใช้ประโชยน์ ด้วยการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อมาใช้รดต้นไม้ หรือให้รากไม้ใหญ่ดูดซับฝนได้อย่างชุ่มฉ่ำ นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืชที่ทนต่อมลพิษบำบัดน้ำเสียและเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ก่อนนำกลับไปใช้หมุนเวียนใหม่ . #ทำไมต้องปลูกพืชบนหลังคา? นอกจากนี้อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ยังมี ‘Green Roof’ หรือการปลูกปลูกต้นไม้ปกคลุมบนหลังคา เพราะเมืองหลวงมีพื้นที่จำกัด จึงยกระดับเพื่อประหยัดพื้นที่ใช้สอย นอกจากจะช่วยลดอุณหภูมิความร้อนจากคอนกรีต สร้างความร่มเย็นให้อาคาร ยังเป็นบ้านและแหล่งอาหารให้กับเหล่านกแมลง เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้กับเมือง (BiodiverCity) ให้มีมากกว่าแค่คน … . สิ่งที่ได้มาคือ “ห้องเรียนธรรมชาติ” โดยปริยาย ที่ทั้งเด็กหรือผู้ใหญ่ สามารถเข้าใกล้ชิดธรรมชาติwfhมากขึ้นโดยไม่ต้องเดินทางไกลถึงต่างจังหวัด คุณภาพชีวิตที่ดี=การมีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ คลายเครียดจากชีวิตเมืองใหญ่ และมีกิจกรรมร่วมกันในสังคม . อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุทยาน 100 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​ (CU Centenary Park) : //pmcu.co.th/?page_id=9921 . สภาพอากาศ ภูมิประเทศ และโจทย์ความท้าทายของประเทศสวีเดนและไทย มีความแตกต่างกัน แต่ความหลากหลายช่วยจุดประกาย#นวัตกรรม ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลก… เราต่างต้องเร่งปรับตัวสร้างรากฐานเมืองให้พร้อมและยั่งยืน เพื่อชะลอผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศให้ได้มากที่สุด . กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ #ThailandSwedenSustainabilityWeek23 #สัปดาห์ความยั่งยืนไทยสวีเดนระหว่างวันที่ 16-22 มี.ค.66 . ติดตามความความร่วมมือระหว่างไทย-สวีเดน และกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่: Facebook : TNIU Thailand and Nordic Countries Innovation Unit ——

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to top