5 เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ COVID-19
สำหรับชาวจุฬาฯ
1. เพื่อลดความเสี่ยงของตัวท่าน ชาวจุฬาฯ ทุกคนควรเข้ารับการตรวจที่ศูนย์บริการสุขภาพจุฬาฯ หรือโรงพยาบาล?
.
ไม่ควร
หากไม่มีความเสี่ยงและไม่มีอาการป่วยยังไม่ควรไปรับการตรวจเพื่อลดความเสี่ยงของตัวท่าน และลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์
.
ทั้งนี้ทุกคนสามารถคัดกรองความเสี่ยงได้โดยใช้แบบสอบถามของ กทม. ในลิงค์นี้
//bkkcovid19.bangkok.go.th
2. ทุกคนที่ติดเชื้อมีอาการป่วย?
.
ไม่จริง
ผู้ป่วยจำนวนมากไม่มีอาการ หรือยังไม่แสดงอาการ ชาวจุฬาฯ จึงต้องยกการ์ดสูงตามหลัก 5 ส
.
สแกน – สแกน QR CODE “ไทยชนะ” ในการเข้า – ออกอาคาร
สวม – สวมหน้ากากอนามัยและล้างมืออย่างสม่ำเสมอ
สังเกต – คอยสังเกตตัวเองหากมีอาการไม่สบายให้รีบไปพบแพทย์
สอบวัด – ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าอาคาร หากมีอุณหภูมิเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ให้ติดต่อศูนย์บริการสุขภาพฯ
สร้าง – สร้างระยะห่างระหว่างกัน ตามมาตรการป้องกันโควิด-19 เพื่อรักษาตนเองให้ห่างไกลจากโรค
3. ต่างด้าว = ติดเชื้อ
.
ไม่ใช่
การเป็นชาวต่างด้าวมิได้ถือเป็นปัจจัยเสี่ยง
.
ปัจจัยความเสี่ยงมีดังต่อไปนี้
– การอยู่อาศัยและเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
– การอยู่ในที่ชุมชนที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19
– การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19
4. ผู้มีความเสี่ยงสูง = ผู้ติดเชื้อ
.
ไม่ใช่
การยืนยันการติดเชื้อต้องผ่านการตรวจ PCR เท่านั้น
การประเมินตนเอง หรือ การมีผลตรวจเป็น “บวก” จากการตรวจเบื้องต้นต่าง ๆ ยังไม่สามารถยืนยันการติดเชื้อได้ 100%
.
หากท่านเป็นผู้มีความเสี่ยงสูงต้องปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด สามารถติดต่อศูนย์บริการสุขภาพจุฬาฯ ได้ที่ 0-2218-0568 (ในวันและเวลาทำการ) หรือสายด่วน หมายเลขโทรศัพท์ 09-1761-0988 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
5. ตรวจแล้วไม่เจอเชื้อ = ไม่ได้ป่วย
.
ไม่ถูกต้อง
การที่ “ไม่เจอเชื้อ” ไม่ได้หมายความว่า “ไม่ติดเชื้อ” เพราะ บางคนยังอยู่ในระยะฟักตัวของโรค
.
ดังนั้น จึงต้องเฝ้าระวังอาการและกักกันตนเองในช่วง 14 วันหากมีประวัติเสี่ยง หรือเคยเดินทางไปพื้นที่การแพร่ระบาดโควิด-19
#เป็นห่วงนะ #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย