วันเสาร์ที่ 2 ม.ค. 2564
—
ศูนย์โควิด-19 จุฬาฯ เข้ม!
ประกาศมาตรการปิดที่ทำการจุฬาฯ
รับมือการระบาดครั้งใหม่ ถึง 31 ม.ค. 2564
#จุฬาฯ #เป็นห่วงนะ
คณะกรรมการ COVID-19 จุฬาฯ นำโดย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ประชุมเข้มเมื่อวันเสาร์ที่ 2 ม.ค. 64 เวลา 13:00 น. เร่งมาตรการเพิ่มความปลอดภัย ปิดที่ทำการจุฬาถึง 31 ม.ค. 📣📣📣
อ่านรายละเอียดประกาศทั้งหมดที่
ทั้งนี้มีรายละเอียดสำคัญที่ชาวจุฬาฯ ควรทราบดังนี้
1. จุฬาฯ เปิดไหม?
🙅🏻 ไม่เปิด จุฬาฯ ปิดสถานที่ทำการทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั้งหมด
2. การเรียนการสอนเป็นอย่างไร?
📱💻Online ทั้งหมด
3. บุคลากรจุฬาฯ ยังทำงานหรือไม่?
🏠 บุคลากรยังคงทำงานอย่างเต็มที่แบบ Work from Home ยกเว้นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยงานหรือรองอธิการบดีให้มาทำงานในพื้นที่มหาวิทยาลัย
4. รถบัสจุฬาฯ (รถปอ.พ.) ยังเปิดให้บริการไหม?
🛑 ไม่เปิดให้บริการ
5. ประตูใดเปิดบ้าง?
🚪ทางรถเข้าออก ประตูบัญชีฯ ประตูธรรมสถาน ประตูจุฬาพัฒน์ ประตูสัตวแพทย์ และประตูเภสัช โดยคัดกรองให้เข้าได้เฉพาะรถที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
🚪ประตูทางเดินเท้า ประตูอักษร ประตูสถาปัตย์ ประตูจาม 9-สาธิตมัธยม ประตูจาม 10-ศศินทร์ ประตูเภสัช ประตูสัตวแพทย์ ประตูสหเวชสนามกีฬาแห่งชาติ และประตูครุ-จาม 4 เวลา 6:00-18:00 น.
ประตูทางเท้า จามสแควร์-บัญชีฯ เปิดปกติจนกว่าจามจุรีสแควร์จะประกาศปิด
อนึ่งอาคารจอดรถรัฐศาสตร์และอักษร เปิดให้ขึ้นอาคารได้ แต่ไม่ให้เข้าภายในมหาวิทยาลัย
6. โรงอาหารใดเปิดบ้าง?
🍲โรงอาหารรวมอาคารจอดรถ 2 โรงอาหารสำนักงานมหาวิทยาลัย และโรงอาหารหอพักนิสิต โดยอนุญาตให้ใช้บริการเฉพาะบุคลากรและนิสิตจุฬาฯ เท่านั้น และมีมาตรการรักษาความสะอาดและปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
7. กิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยดำเนินการอย่างไร?
🙅🏻งดกิจกรรมทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยที่ต้องมาพบกัน ทั้งนี้อาจพิจารณาเลื่อนการจัดกิจกรรมออกไป หรือปรับกิจกรรมเป็นรูปแบบอื่นก็ได้
8. หน่วยงานใดยังเปิดดำเนินการ?งานบริการทางการแพทย์ที่มีความจำเป็นและฉุกเฉิน งานรักษาความปลอดภัย งานดูแลระบบต่าง ๆ งานที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือสัญญา ที่ต้องดำเนินการให้ทันเวลา และงานที่มีความจำเป็นตามความเห็นของหัวหน้าหน่วยงานหรือรองอธิการบดี
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยสูงสุดของชาวจุฬาฯ
#จุฬาฯเป็นห่วงนะ