มารู้จักกับ Tarket Startup – Platform ขายของมือสองที่เข้ากับ lifestyle วัยรุ่น ภายใต้การบ่มเพาะของ CU Innovation Hub //www.facebook.com/262959828913091/posts/297395598802847/
ขณะนี้ Tarket อยู่ในช่วงทดสอบตลาด ใครอ่านแล้วตรงใจอยากให้เกิดแพลทฟอร์มนี้ขึ้นจริงสามารถช่วยให้ความเห็นได้ที่ bit.ly/tarket-invitation
เมื่อปัญหาโลกร้อนกลายเป็นกระแสสังคมที่รังแต่จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้คนทั่วโลกหรือกระทั่งในบ้านเราเองหันมาใส่ใจและร่วมกันรณรงค์ใช้ชีวิตอย่างนึกถึงโลกใบนี้กันมากขึ้น โดยหนึ่งในวิธีที่มาแรงมากๆ คือการลดการซื้อของใหม่แล้วใช้ของมือสอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
.
ด้วยเหตุนี้ ภาดา กาญจนภิญพงศ์ กับเพื่อนๆ จึงร่วมกันคิดแพลตฟอร์มส่งต่อของมือสองรูปแบบใหม่ที่มีชื่อว่า Tarket ซึ่งมีความแตกต่างจากแอปพลิเคชันขายของอื่นๆ ขึ้นมา ความพิเศษคือการเจาะกลุ่มผู้ใช้คนรุ่นใหม่ ทำให้มีการนำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์วัยรุ่นอย่างฟังก์ชันการปัดแบบแอปฯ เดตติ้ง ชอบ-ไม่ชอบชิ้นไหนก็ปัดใช่ปัดชอบได้ มากไปกว่านั้นตัวแพลตฟอร์มยังให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการแสดงข้อมูลต่างๆ อีกด้วย
.
“ที่ผ่านมา เรายังไม่เคยเจอแพลตฟอร์มขายของมือสองไทยที่สร้างขึ้นมาเพื่อกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะ ก็เลยทำให้คิดว่านี่อาจเป็นอุปสรรคในการซื้อ-ขายของมือสองของคนรุ่นเราด้วยหรือเปล่า เราจึงสร้างแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมาพร้อมกับจุดดึงดูดใหม่ๆ ที่ปกติคนไม่น่าจะเคยเห็นกันในตลาดขายของออนไลน์”
.
ตัวอย่างฟีเจอร์ใน Tarket ที่ภาดากับทีมวางแผนดีไซน์ไว้ มีดังนี้
– ให้อิสระกับคนซื้อในการเสนอราคาที่ชอบ และให้โอกาสกับคนขายให้เลือกราคาที่ใช่ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า
– มี AI เช็กปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ของสินค้าชิ้นนั้นๆ แล้วเปลี่ยนเป็นแต้มส่วนลดได้ รวมถึงนำเสนอข้อมูลว่าเราช่วยโลกได้ยังไงอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น เสื้อที่คุณส่งต่อ ช่วยลดมลพิษเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 10 ต้น
– มีความปลอดภัยสูง เพราะทุกคนต้องผ่านระบบการยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้
.
นอกจากนี้ภาดายังเสริมถึงมิชชันระยะยาวของเขาอีกว่าต้องการที่จะเห็นคนรุ่นใหม่เปลี่ยนมายด์เซตเกี่ยวกับของมือสอง โดยหวังว่า Tarket จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างค่านิยมในการส่งต่อและใช้ของมือสองให้กลายเป็นเรื่องปกติ สนุก และไม่ว่าใครก็ทำได้เหมือนการซื้อของใหม่
.
ภาดาเล่าว่าเขากับทีมได้รับเงินทุนและความช่วยเหลือจาก CU Innovation Hub และโครงการ Youth Startup Fund จาก TED Fund ทำให้การันตีได้ว่าตัวแพลตฟอร์มนี้สามารถเกิดขึ้นจริงและมีประสิทธิภาพแน่นอน ใครที่สนใจและอยากสนับสนุนแนวคิดการส่งต่อของมือสอง สามารถช่วยสนับสนุนให้ Tarket เกิดขึ้นจริงได้ง่ายๆ แค่ลงทะเบียนความสนใจที่ bit.ly/tarket-invitation
.
อ่านในรูปแบบเว็บไซต์ได้ที่ : urbancreature.co/tarket-application
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้องได้ที่ : urbancreature.co/category/whats-up
#UrbanCreature #WhatsUp #ReinventTheWayWeLive #Tarket #SecondHand #Application #ของมือสอง #แอปขายของมือสอง