จุฬาฯ ตอบโจทย์โควิดครบวงจร ผุดสุดยอดนวัตกรรมเพื่อสังคม รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมรับมือโควิด-19 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกิดจากวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งนำมาสู่พันธกิจของจุฬาฯ ที่มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม (Innovations for Society) รศ.ดร.ณัฐชา ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า ไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์หรือความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่สิ่งนั้นจะต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยตัวชี้วัดที่จุฬาฯ ใช้ในงานนวัตกรรมคือ มูลค่าทางการตลาดที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมที่จุฬาฯ บ่มเพาะจะต้องมีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท และมีผู้ใช้ประโยชน์จากงานนวัตกรรมอย่างน้อย 1 ล้านคน ความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมของจุฬาฯ เกิดจาก 3 ปัจจัย คือ 1.การมีคนเก่ง มีทักษะ ทัศนคติและวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้น แสวงหาโอกาสอย่างมีกลยุทธ์ 2.ความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และการตลาด 3.มีแผนธุรกิจที่แตกต่าง และลอกเลียนแบบยาก รวมถึงสามารถขยายการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยการขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์นั้น มาจากการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมในจุฬาฯ ซึ่งประกอบด้วย CU Innovation Hub ทำหน้าที่บ่มเพาะทักษะการเป็นผู้ประกอบการ นำงานวิจัย ”จากหิ้งสู่ห้าง” และสร้างสังคมอุดมปัญญา และมี CU Enterprise เป็นบริษัทร่วมลงทุนที่จุฬาฯ ถือหุ้น 100% ทำหน้าที่ลงทุนธุรกิจนวัตกรรมที่มาจากการบ่มเพาะของ CU Innovation Hub ซึ่งปัจจุบันมีการตั้งบริษัทสตาร์ทอัปขึ้นใน 6 คณะ ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และบริษัท นวัตกรรมจามจุรี ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้อาจารย์สร้างสรรค์งานนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในเวลาที่รวดเร็ว รศ.ดร.ณัฐชาชี้ให้เห็นถึงหัวใจสำคัญที่ทำให้ระบบนิเวศนวัตกรรมของจุฬาฯ ประสบความสำเร็จว่ามาจาก “PADONE” ประกอบด้วย Prior Experiences (ประสบการณ์ก่อนหน้านี้ในการทำธุรกิจและนวัตกรรม) Accelerate Success (การมีเครือข่ายที่ช่วยทำให้เกิดความสำเร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น) Diversify Risk (การกระจายความเสี่ยง) Omni Resources (ทรัพยากรไม่จำกัด) NurtureTrust (ความเชื่อถือไว้ใจ) และ Equity Partnership (การแบ่งปันที่เป็นธรรม) อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : //mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000087911Photos from CU Innovation Hub’s post

จุฬาฯ ตอบโจทย์โควิดครบวงจร ผุดสุดยอดนวัตกรรมเพื่อสังคม
รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมรับมือโควิด-19 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกิดจากวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งนำมาสู่พันธกิจของจุฬาฯ ที่มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม (Innovations for Society)

รศ.ดร.ณัฐชา ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า ไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์หรือความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่สิ่งนั้นจะต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยตัวชี้วัดที่จุฬาฯ ใช้ในงานนวัตกรรมคือ มูลค่าทางการตลาดที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมที่จุฬาฯ บ่มเพาะจะต้องมีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท และมีผู้ใช้ประโยชน์จากงานนวัตกรรมอย่างน้อย 1 ล้านคน ความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมของจุฬาฯ เกิดจาก 3 ปัจจัย คือ 1.การมีคนเก่ง มีทักษะ ทัศนคติและวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้น แสวงหาโอกาสอย่างมีกลยุทธ์ 2.ความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และการตลาด 3.มีแผนธุรกิจที่แตกต่าง และลอกเลียนแบบยาก รวมถึงสามารถขยายการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

โดยการขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์นั้น มาจากการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมในจุฬาฯ ซึ่งประกอบด้วย CU Innovation Hub ทำหน้าที่บ่มเพาะทักษะการเป็นผู้ประกอบการ นำงานวิจัย ”จากหิ้งสู่ห้าง” และสร้างสังคมอุดมปัญญา และมี CU Enterprise เป็นบริษัทร่วมลงทุนที่จุฬาฯ ถือหุ้น 100% ทำหน้าที่ลงทุนธุรกิจนวัตกรรมที่มาจากการบ่มเพาะของ CU Innovation Hub ซึ่งปัจจุบันมีการตั้งบริษัทสตาร์ทอัปขึ้นใน 6 คณะ ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และบริษัท นวัตกรรมจามจุรี ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้อาจารย์สร้างสรรค์งานนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในเวลาที่รวดเร็ว

รศ.ดร.ณัฐชาชี้ให้เห็นถึงหัวใจสำคัญที่ทำให้ระบบนิเวศนวัตกรรมของจุฬาฯ ประสบความสำเร็จว่ามาจาก “PADONE” ประกอบด้วย Prior Experiences (ประสบการณ์ก่อนหน้านี้ในการทำธุรกิจและนวัตกรรม) Accelerate Success (การมีเครือข่ายที่ช่วยทำให้เกิดความสำเร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น) Diversify Risk (การกระจายความเสี่ยง) Omni Resources (ทรัพยากรไม่จำกัด) NurtureTrust (ความเชื่อถือไว้ใจ) และ Equity Partnership (การแบ่งปันที่เป็นธรรม)

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : //mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000087911

อ่านต่อ

จุฬาฯ ตอบโจทย์โควิดครบวงจร ผุดสุดยอดนวัตกรรมเพื่อสังคม รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมรับมือโควิด-19 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกิดจากวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งนำมาสู่พันธกิจของจุฬาฯ ที่มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม (Innovations for Society) รศ.ดร.ณัฐชา ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า ไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์หรือความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่สิ่งนั้นจะต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยตัวชี้วัดที่จุฬาฯ ใช้ในงานนวัตกรรมคือ มูลค่าทางการตลาดที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมที่จุฬาฯ บ่มเพาะจะต้องมีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท และมีผู้ใช้ประโยชน์จากงานนวัตกรรมอย่างน้อย 1 ล้านคน ความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมของจุฬาฯ เกิดจาก 3 ปัจจัย คือ 1.การมีคนเก่ง มีทักษะ ทัศนคติและวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้น แสวงหาโอกาสอย่างมีกลยุทธ์ 2.ความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และการตลาด 3.มีแผนธุรกิจที่แตกต่าง และลอกเลียนแบบยาก รวมถึงสามารถขยายการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยการขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์นั้น มาจากการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมในจุฬาฯ ซึ่งประกอบด้วย CU Innovation Hub ทำหน้าที่บ่มเพาะทักษะการเป็นผู้ประกอบการ นำงานวิจัย ”จากหิ้งสู่ห้าง” และสร้างสังคมอุดมปัญญา และมี CU Enterprise เป็นบริษัทร่วมลงทุนที่จุฬาฯ ถือหุ้น 100% ทำหน้าที่ลงทุนธุรกิจนวัตกรรมที่มาจากการบ่มเพาะของ CU Innovation Hub ซึ่งปัจจุบันมีการตั้งบริษัทสตาร์ทอัปขึ้นใน 6 คณะ ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และบริษัท นวัตกรรมจามจุรี ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้อาจารย์สร้างสรรค์งานนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในเวลาที่รวดเร็ว รศ.ดร.ณัฐชาชี้ให้เห็นถึงหัวใจสำคัญที่ทำให้ระบบนิเวศนวัตกรรมของจุฬาฯ ประสบความสำเร็จว่ามาจาก “PADONE” ประกอบด้วย Prior Experiences (ประสบการณ์ก่อนหน้านี้ในการทำธุรกิจและนวัตกรรม) Accelerate Success (การมีเครือข่ายที่ช่วยทำให้เกิดความสำเร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น) Diversify Risk (การกระจายความเสี่ยง) Omni Resources (ทรัพยากรไม่จำกัด) NurtureTrust (ความเชื่อถือไว้ใจ) และ Equity Partnership (การแบ่งปันที่เป็นธรรม) อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : //mgronline.com/greeninnovation/detail/9640000087911Photos from CU Innovation Hub’s post

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to top